ร่วมสืบทอดประเพณีบุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ
ช่วงเช้ามืดของวันที่ 14 กันยายน ชาวบ้านตามชุมชนหมู่บ้านต่างๆในจังหวัดยโสธรต่างพากันจัดเตรียมอาหารคาวหวาน บุหรี่และหมากพลู ซึ่งเป็นเครื่องเซ่นไหว้ตมประเพณีปฏิบัติของประเพณีบุญข้าวประดับดิน หรือการทำบุญเดือน 9 ก่อนจะนำเอาอาหารคาวหวานไปทำเป็นห่อ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ห่อข้าวน้อย จากนั้นพอผ่านเวลาหลังเที่ยงคืน เข้าสู่วันใหม่ ซึ่งเป็นคืนวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ก็จะพากันนำห่อข้าวน้อยที่จัดเตรียมไว้ออกไปที่วัดพร้อมกับได้แยกย้ายกันนำห่อข้าวน้อยไปวางเอาไว้ตามจุดต่างๆภายในวัด
“บุญข้าวประดับดิน” บุญเดือนเก้า ประเพณีทำบุญให้ผู้ล่วงลับของชาวอีสาน
วันเข้าพรรษา 2566 วันสำคัญทางพุทธศาสนาของไทย "ทำบุญ-ถวายเทียน"
ก่อนจะเรียกให้พ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วรวมทั้งเปรต หรือผีไม่มีญาติให้มารับเอาส่วนกุศลที่อุทิศไปให้ โดยเชื่อว่าในคืนวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นวันที่ประตูนรกเปิดจึงมีญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วได้กลับมารับเอาส่วนกุศลที่ลูกหลานอุทิศไปให้
โดยนางบุญศรี บุญช่วย อายุ 89 ปี ชาวจังหวัดยโสธร เล่าว่า ประเพณีบุญข้าวประดับเป็นประเพณีโบราณที่ชาวบ้านตามชนบทได้สืบทอดและปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นการทำบุญเดือน 9 เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะเชื่อว่าในคืนวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นวันที่ประตูนรกเปิด ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะได้กลับมาเอาส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกหลานนำไปให้ สำหรับส่วนประกอบในการทำบุญก็จะประกอบด้วยอาหารคาวหวาน บุหรี่และหมากพลู จัดเตรียมเป็นห่อข้าวพอตกกลางคืนหลังเที่ยงคืนวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านก็จะนำห่อข้าวน้อยไปวางไว้ตามจุดต่างๆภายในวัดประจำหมู่บ้านพร้อมกับได้เรียกให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารคาวหวานกลับไปรับประทาน
ทั้งนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า ในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 จะเป็นวันที่ประตูนรกเปิดออก วิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงเปรต สัตว์นรกต่าง ๆ จะขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ จึงเกิดเป็นประเพณีบุญข้าวประดับดิน เพราะเป็นการนำอาหารคาวหวานมาวางไว้ตามจุดต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า “ยายห่อข้าวน้อย” โดยคำว่า ยาย หมายถึงการวางเป็นระยะ ๆ เพื่อให้วิญญาณได้มารับอาหารที่ชาวบ้านนำมาทำบุญ นอกจากนี้ยังเป็นการทำบุญให้กับผู้ยากไร้ และสัตว์จรจัดที่หิวโหย ให้สามารถมากินอาหารได้อีกด้วย
โดยในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเดินทางไปที่วัดตั้งแต่หลังเที่ยงคืน เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง ไปวางไว้เป็นระยะ ตามจุดต่าง ๆ ตามข้างวัด กำแพงวัด หรือตามกิ่งไม้ ซึ่งเป็นการไปวางแบบเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้องหรือตีกลองแต่อย่างใด หลังจากวางเสร็จแล้วชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารไปทำบุญที่วัดอีกครั้งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน หลังจากถวายปัจจัยเสร็จแล้ว ก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ย้อนดู “เงินเดือนข้าราชการ” หลัง ครม.สั่งการแบ่งจ่าย 2 รอบ/เดือน
รพ.จุฬาเปิดจุดฉีดวัคซีน HPV เดือน ก.ย.ฟรี! ย้ำรีบลงทะเบียนก่อนหมดเขต!
ไขรหัสคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!“ทิชชู 1 บาท” เช็ดหน้าได้ไหม? วิธีเลือกให้ปลอดภัยจากสารฟอกขาว