ได้ฟังเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือนักวิชาการกันมาแล้ว ถึงระเบียบกระทรวงมหาดไทยใหม่ (ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566) ที่จะยกเลิกการจ่ายเงินถ้วนหน้า ให้เฉพาะเพียงผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ
โดยบ้างก็แสดงความกังวลต่อระเบียบใหม่นี้ ว่าอาจเป็นการลอยแพผู้สูงอายุที่กำลังจะเข้าสู่อายุ 60 ปีหลังจากนี้ หรืออาจทำให้เกิดการตกหล่นของกลุ่มคนบางกลุ่ม
ขณะที่บางคนก็บอกว่าระเบียบใหม่นี้เป็นการวางแนวทางขึ้นมาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ส่วนต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป คือ จะกำหนดให้เป็นสวัสดิการหรือจะต้องจ่ายใครบ้าง ก็เป็นนโยบายของรัฐบาลใหม่
แต่เสียงจากหนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพ จะเป็นอย่างไรด้วยนั้น วันนี้ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ได้สัมภาษณ์ นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนที่ 1 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ภาพ : นพ.วิชัย โชควิวัฒน
ย้อนเส้นทางการจ่ายเบี้ยยังชีพ
แต่เดิมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุฉบับแรก เมื่อปี 2546 กำหนดให้การจ่ายเบี้ยยังชีพเป็นการสงเคราะห์ คือจ่ายให้เฉพาะคนยากจน ลำบากยากไร้ ก่อนต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 ได้เปลี่ยนแปลงหลักการสำคัญของการจ่ายเบี้ยยังชีพให้เป็นการจ่ายแบบสวัสดิการถ้วนหน้าแบบทั่วถึงและเป็นธรรม คือทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนจะได้รับอย่างเท่าเทียมกันหมด โดยจ่ายในอัตราคนละ 500 บาท ซึ่งเราเรียกกัน คล้ายๆ บำนาญพื้นฐาน
แล้วเราก็มีความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบบำนาญพื้นฐานเพื่อให้คนได้มีหลักประกันในวัยชราในอนาคต ซึ่งเราทำกันมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 แล้ว นับถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 13 ปี
กระทั่งในสมัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงได้มีการเพิ่มอัตราการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจาก 500 บาท มาเป็นแบบขั้นบันได 600 – 1,000 บาท นี่เป็นการเพิ่มทีละน้อย ตามกำลัง
และในการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคการเมืองต่างๆ มีนโยบายที่จะเพิ่มอัตราการจ่ายเบี้ยยังชีพขึ้นไปในอัตราที่แตกต่างกัน อย่างพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุให้เป็น 1,000 บาททุกช่วงอายุ
ระเบียบใหม่เป็นการถอยหลังเข้าคลองไปสุดซอย
แต่อยู่ๆ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เปลี่ยนหลักการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกลับไปที่การจ่ายเฉพาะคนยากจน หรือไม่มีรายเพียงพอแก่การยังชีพ ซึ่งจริงๆ ก่อนหน้านั้นจะครอบคลุมกลุ่มผู้ไร้อุปการะด้วย แต่อันนี้คือเป็นการถอยหลังเข้าคลองไปสุดซอยเลย
อย่างไรก็ตามพลเอกประยุทธ์อาจพลิ้วได้เนื่องจากไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรครวมไทยสร้างชาติ เพียงแต่เป็นแคนดิเดตของพรรคเท่านั้น ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นสำคัญว่ารัฐบาลกำลังถอยหลังเข้าคลอง ทำสิ่งที่สวนกระแส และกำลังทำลายระบบบำนาญพื้นฐานของประชาชน
ในเรื่องของการมีรายได้ไม่เพียงพอ ก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการล้มป่วย หรือล้มละลาย เป็นต้น แต่ไม่ว่าเขาจะสิ้นเนื้อประดาตัวอย่างไร แต่เขาก็ยังมีบำนาญพื้นฐานอย่างเบี้ยผู้สูงอายุยังชีพอยู่ แต่ระเบียบใหม่นี้กำลังทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน
การพิสูจน์ว่าจนไม่จน มันยากลำบาก และประเทศไทยเราไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะข้อมูลเราไม่มี และระบบคนที่ประเมินก็อาจเชื่อถือไม่ได้ อาจเอาระบบพรรคพวกเข้ามาเป็นหลัก คนจนก็มีหลายสิบเปอร์เซ็นต์ที่ไม่มีบัตรสวัสดิการแห่ง นี่คือปัญหาของประเทศไทยมาตั้งแต่โบราณกาล และเป็นเรื่องที่ยังแก้ไขไม่ได้ คนตรวจสอบสิทธิเองก็ยากลำบาก อย่างเกษตรกรบางทีเองก็มีรายได้เข้ามาในแต่ละปีไม่เหมือนกันคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แนะรัฐบาลชุดรักษาการควรรีบยกเลิกระเบียบใหม่นี้
อย่างไรก็ตาม กรณีที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมาระบุเมื่อไม่นานนี้ว่า ระเบียบใหม่นี้ถ้าหากยังมีไม่การกำหนดเกณฑ์บ่งชี้ความมีรายได้ไม่เพียงพอออกมาจากคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก็จะยังไม่มีการบังคับใช้
แต่ในความคิดเห็นผมนะ ผมมองว่ารัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะรีบยกเลิกระเบียบใหม่นี้ ไม่ใช่ว่าตอนนี้โยนเรื่องไปที่คนนู้นคนนี้ หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพราะกระทรวงนี้เขาดูแลเรื่องความทุกข์ยากของประชาชน เขาจะออกระเบียบจำกัดสิทธิ หรือรอนสิทธิของประชาชน ไม่มีทางแน่ๆ
ระเบียบใหม่อาจขัดต่อข้อกฎหมาย
ขณะเดียวกัน นพ.วิชัย ได้ตั้งข้อสงสัยว่า ระเบียบใหม่นี้อาจขัดต่อข้อกฎหมายหรือไม่ เพราะ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2546 ระบุมาตรา 11 เอาไว้ว่า “ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครองการส่งเสริมและการสนับสนุนในด้านต่างๆ อาทิ การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม”
การที่ระเบียบใหม่ระบุคุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพไว้ว่า ต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือไม่มีรายได้เพียงพอแก่การเลี้ยงชีพ จึงกลายเป็นการรอนสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งอาจกระทบคนหลายล้านคน
นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า การออกระเบียบใหม่นี้ ในวันแม่แห่งชาติที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ควรไหม เหมาะสมหรือไม่
ยังไม่ขีดเส้นกำหนดคุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพใหม่
เมื่อถามถึง คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) จะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเมื่อไรนั้น เรื่องนี้ นพ.วิชัย ตอบว่า อยู่ที่ว่ารัฐบาลชุดรักษาการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเรียกประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติให้เร่งกำหนดหลักเกณฑ์หรือไม่และเมื่อไร
ซึ่งผมในฐานะคณะกรรมการคนหนึ่ง ผมก็จะคัดค้าน แต่ไม่รู้ว่าผมจะเป็นหนึ่งในเสียงข้างมาก หรือเสียงข้างน้อย
ยันสูงวัยที่กำลังรับเบี้ยยังชีพ จะไม่ถูกตัดสิทธิ-ไม่ต้องคืนเงินย้อนหลัง
สำหรับผู้สูงอายุที่กำลังจะขอรับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หลังมีระเบียบใหม่ประกาศออกมาแล้วนั้น ระหว่างที่กำลังรอคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) กำหนดเกณฑ์บ่งชี้ความมีรายได้ไม่เพียงพอ ตอนนี้สามารถลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพได้ตามปกติ และจะไม่มีผลย้อนหลัง ต้องคืนเงินในอนาคต เพราะจะถือว่าเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งระเบียบใหม่ได้กำหนดบทเฉพาะกาลข้อที่ 17 ไว้แล้วว่า "ให้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป" จึงขอให้ประชาชนในส่วนนี้คลายความกังวล
เกณฑ์จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุใหม่สอดคล้อง รธน. ยันตอนนี้สูงวัยยังได้ตามเดิม
เสียงค้านจากประชาชน เกณฑ์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่