22 กุมภาพันธ์ “วันแมวญี่ปุ่น” ร่วมฉลองให้เจ้าเหมียวแห่งแดนอาทิตย์อุทัย

22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือว่าเป็น “วันแมวญี่ปุ่น”หรือ“Neko No Hi”เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1987 โดยสมาคม Japan Pet Food ด้วยเสียงโหวตสนับสนุนจากทาสแมวกว่า 9,000 คน ตกลงเลือกวันที่ 22 เดือน 2โดยเลือกวันจากเสียงของแมว อย่างประเทศไทยจะฟังเสียงแมวเป็น “เหมียว เหมียว เหมียว” แต่คนญี่ปุ่นจะได้ยินเสียงแมวเป็น“เนียะ เนียะ เนียะ”ซึ่งเนียะออกเสียงคล้ายกับคำว่านิที่แปลว่า2ในภาษาญี่ปุ่น จึงเป็นสาเหตุทำให้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันแมวญี่ปุ่น นั่นเอง

เริ่มแล้ว! งานนมัสการองค์พระธาตุพนม 17 – 25 กุมภาพันธ์ 2567

“วันมาฆบูชา 2567” ธนาคาร-ไปรษณีย์หยุดไหม หยุดชดเชยหรือไม่

ปี 2567 เจอ 5 สัปดาห์ทุกเดือน แถมบางเดือนยังยาว 6 สัปดาห์! คำพูดจาก สล็อต777

โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ petsecure ระบุว่า ประเทศญี่ปุ่นมีประชากรแมวทั้งหมดเกือบ 10 ล้านตัว

ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศที่มีคาเฟ่แมวมากที่สุดด้วย ชาวอาทิตย์อุทัยมีความโปรดปรานในตัวของเจ้าเหมียวเป็นอย่างมาก ถึงขนาดเคยแต่งตั้งแมวเป็นนายสถานีรถไฟด้วยนะ ยกตัวอย่าง เจ้าทามะ (Tama)แมวประจำสถานีคิชิ (Kishi Station) ในจังหวัดวาคายามะ (Wakayama)ทามะปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี 2007-2015 เมื่อมันเสียชีวิตลง ชาวญี่ปุ่นได้สร้างหอเกียรติยศให้เจ้าเหมียวในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 ด้วย

หากมองให้ใกล้ตัวหน่อย“ตุ๊กตาแมวกวัก” ก็ถือเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ใครมาเที่ยวญี่ปุ่น ต้องมีการซื้อติดไม้ติดมือกลับไปฝากที่บ้านกัน และยังมีการตั้งเกาะแมวมากถึง 10 เกาะ เรียกว่าคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับเจ้าเหมียวจริง ๆ

อีกทั้ง ทางบริษัท Anicom Insurance ผู้ให้บริการด้านการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยงของญี่ปุ่น ได้ทำการจัดอันดับสายพันธุ์แมวที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงมากที่สุดในปี 2023 จากจำนวนแมว 175,089 ตัว นับเฉพาะแมวที่ได้ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทเท่านั้น ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ anicom-sompo โดยทั้ง 10 อันดับ มีดังนี้

  1. แมวพันธุ์ผสม
  2. สก๊อตทิช โฟลด์ (Scottish fold)
  3. อเมริกันช็อตแฮร์ (American Shorthair)
  4. มันช์กิ้น (Munchkin)
  5. นอร์วีเจียน ฟอเรสต์ (Norwegian Forest)
  6. บริติช ช็อตแฮร์ (British Shorthair)
  7. แมวญี่ปุ่น (Japanese Bobtail)
  8. แร็กดอล (Ragdoll)
  9. รัสเซียนบลู(Russian Blue)
  10. เมนคูน (Maine Coon)

แมวถือเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับชาวอาทิตย์อุทัยมาแสนนาน สันนิษฐานได้ราว 200 ปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว โดยสมัยก่อนนิยมเลี้ยงแมวไว้กำจัดหนูตามไร่นาของเกษตรกรและอยู่เป็นเพื่อนคลายเหงา คนญี่ปุ่นเชื่อว่า การเลี้ยงแมวทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด สงบ สบายใจ และยังนำโชคลาภมาให้อีกด้วย

จึงมีตำนานเล่าว่า มีเจ้าเมืองท่านหนึ่ง เดินทางผ่านวัดโกโทคูจิ(Goutokuji) ในโตเกียว ท่านมองเข้าไปในวัดเห็นแมวยกขาข้างหนึ่งเรียก ท่านจึงเข้าไปพักผ่อน ทันใดนั้นฝนก็ตกหนัก ฟ้าผ่าดั่งพายุเข้า ท่านเจ้าเมืองจึงประทับใจว่า เจ้าเหมียวเรียกเข้ามาทำให้ท่านปลอดภัยจากพายุฝน ท่านจึงบริจาคเงินบำรุงวัดจำนวนมาก ยกให้เป็นวัดประจำตระกูล และปั้นรูปแมวยกขาข้างหนึ่งขึ้น หรือเรียกว่ายกอุ้งเท้าขึ้น ใครผ่านมาก็แวะมาไหว้แมว ถือว่าเป็นแมวนำโชค จึงกลายมาเป็นอีกเรื่องราวหนึ่งของตุ๊กตาแมวกวักให้โชค

นอกจากเรื่องโชคลาภแล้ว ชาวญี่ปุ่นยังเชื่อว่าหากมาขอพรเรื่องความรักจากรูปปั้นแมวกวักคู่ที่นั่งเคียงข้างกันใน"ศาลเจ้าอิมาโดะ"(Imado Jinja) ย่านอาซากุสะ กรุงโตเกียว จะทำให้มีโชคในด้านความรักและการแต่งงานอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ทำให้ทาสชาวอาทิตย์อุทัยให้ความสำคัญกับเจ้าเหมียวมาก โดยในวันที่22 กุมภาพันธ์ของทุกปีร้านค้าต่าง ๆ และสถานีรถไฟ จะตกแต่งโปสเตอร์แมว รูปปั้นแมว มีสารพัดสินค้าที่ระลึกเกี่ยวกับแมว และยังมีกิจกรรมในวันของเจ้าเหมียวอีกด้วย เช่น

  • การโพสต์รูปแมวหรือวิดีโอแมวเพื่ออวดเจ้าสัตว์ตัวน้อยให้เพื่อน ๆ ได้ชื่นชมความน่ารัก
  • จัดกิจกรรมแต่งคอสเพลย์แมว
  • จัดบูธเกี่ยวกับแมว ตำนาน และเรื่องเล่าของแมว

นอกจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว ทั่วโลกก็ให้ความสำคัญกับแมวเช่นเดียวกัน โดยกำหนดให้มีวันเกี่ยวกับแมว ดังนี้

  • 17 กุมภาพันธ์ วันแมวตุรกี, อิตาลี, บราซิล, โปแลนด์
  • 1 มีนาคม วันแมวรัสเซีย
  • 4 มิถุนายน วันกอดแมวสากล
  • 10 กรกฎาคม วันลูกแมวแห่งชาติ
  • 8 สิงหาคม วันแมวสากล
  • 9 สิงหาคม วันแมวแคนาดา
  • 17 สิงหาคม วันแมวดำ
  • 1 กันยายน วันแมวสีส้ม(Ginger cat)
  • 16 ตุลาคม วันแมวจรโลก
  • 29 ตุลาคม วันแมวโลกและยังเป็นวันแมวของสหรัฐฯ อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :เว็บไซต์ petsecure, วิกิพีเดีย, เว็บไซต์ BBC, เว็บไซต์ anicom-sompo.co.jp

Air Japan แจงเหตุยกเลิกเที่ยวบิน อากาศยานขัดข้อง คาดเปิดให้บริการ 23 ก.พ.นี้

สรุป 16 ทีมสุดท้าย ยูโรป้า ลีก ลิเวอร์พูล มีโอกาสจับเจอทีมใด

กางปฏิทิน เงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำ จ่าย 2 รอบ ปี 2567